กลุ่มพุทธนิยมหรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจหรือกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้เริ่มขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรมออกไปสู่กระบวนการทางความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจาการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ตนเองทฤษฎีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี 5 ทฤษฎี คือ
1.ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญของทฤษฎีนี้ คือ แมกซ์ เวอร์ไทเมอร์ (Max Wertheimer) วุล์แกงค์ โคห์เลอร์ (Wolfgang Kohler) เคริ์ท คอฟฟ์กา (Kurt Koffka) และเคริ์ท เลวิน (Kurt Lewin)
2.ทฤษฎีสนาม(Field Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญ คือ เคริ์ท เลวินซึ่งได้แยกตัวจากกลุ่มทฤษฎีเกสตัลท์ ในระยะหลัง
3.ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory) ของทอลแมน(Tolman)
4.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Inlellectual Development Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญคือ เพียเจต์ (Piaget) และบรุนเนอร์ (Bruner)
5.ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ( A Theory of Meaningful Verbal Learning) ของออซูเบล (Ausubel)
1.1.1 ทฤษฎีเกสตัลท์ (Gestalt Theory)
เกสตัลท์ เป็นศัพท์ในภาษาเยอรมันมีความหมายว่า “แบบแผน” หรือ “รูปร่าง”(form or pattern) ซึ่งในความหมายของทฤษฎี หมายถึง .”ส่วนรวม” (Whole-ness) แนวความคิดหลักของทฤษฎีนี้ก็คือ ส่วนรวมมิใช่เป็นเพียงผลรวมของส่วนย่อย ส่วนรวมเป็นสิ่งที่มากกว่าผลรวมของส่วนย่อย ( the whole is more than the sum of the parts) กฎการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้สรุปได้ดังนี้ (Bigge, 1982: 190-202)
ก. ทฤษฎีการเรียนรู้
1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนภายในตัวของมนุษย์
2. บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย
3. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ
3.1 การรับรู้ (perception) การรับรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าแล้วโยนเข้าสู่สมองเพื่อผ่านเข้าสู่กระบวนความคิด สมองหรือจิตจะใช้ประสบการณ์เดิมตีความหมายของสิ่งเร้าและแสดงปฎิกิริยาตอบสนองออกไปตามที่สมอง/จิต ตีความหมาย
3.2 การหยั่งเห็น (insight) เป็นการค้นพบหรือการเกิดความเข้าใจในช่องทางแก้ปัญหาอย่างเฉียบพลันทันที อันเนื่องมาจากผลการพิจารณาปัญหาโดยส่วนรวม และการใช้กระบวนการทางความคิดและสติปํญญาของบุคคลนั้น
4. กฎการจัดระเบียบการเรียนรู้ (perception) ของทฤษฎีเกสตัลท์มีดังนี้
4.1 กฎการรับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อย (Law of Pragnanz) ประสบการณ์เดิมมีอิทธิหลต่อการรับรู้ของบุคคล การรับรู้ของบุคคลต่อสิ่งเร้าเดียวกันอาจแตกต่างกันได้เพราะการใช้ประสบการณ์เดิมมารับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อยต่างกัน
4.2 กฎแห่งความคล้ายคลึง ( Law of Similarity) สิ่งเร้าใดที่มีลักษณะเหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกัน บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน
4.3 กฎแห่งความใกล้เคียง (Law of Proximity) แม้สิ่งเร้าที่มีความใกล้เคียงกันบุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน
4.4 กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closure )แม้สิ่งเร้าที่บุคคลรับรู้ยังไม่สมบูรณ์ แต่บุคคลสามารถรับรู้ในลักษณะสมบูรณ์ได้ถ้าทุกคนมีประสบการณ์เดิมในสิ่งเร้านั้น
4.5 กฎแห่งความต่อเนื่อง สิ่งเร้าที่มีความต่อเนื่องกันหรือมีทิศทางไปในแนวเดียวกัน บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกันหรือเรื่องเดียวกันหรือเป็นเหตุผลกัน
4.6 บุคคลมักมีความคงที่ในความหมายของสิ่งที่รับรู้ตามความเป็นจริง กล่าวคือ เมื่อบุคคลรับรู้สิ่งเร้าในภาพรวมแล้วจะมีความคงที่ในการรับรู้สิ่งนั้นในลักษณะเป็นภาพรวมดังกล่าว ถึงแม้ว่าสิ่งเร้านั้นจะได้เปลี่ยนแปรไปเมื่อรับรู้ในแง่มุมอื่น เช่น เมื่อเห็นปากขวดกลมเรามักจะเห็นว่ามันกลมเสมอ ถึงแม้ว่าในการมองบางมุม ภาพที่เห็นจะเป็นรูปวงรีก็ตาม
4.7 การรับรู้ของบุคคลอาจผิดพลาด บิดเบือน ไปจากความเป็นจริงได้ เนื่องมาจากลักษณะของการจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการลวงตา
5.การเรียนรู้แบบหยั่งเห็น (insight) โคห์เลอร์ (kohler) ได้สังเกตการณ์เรียนรู้ของลิงในการทดลอง ลิงพยายามหาวิธีที่จะเอากล้วยซึ่งแขวนอยู่สูงเกินกว่าที่จะเอื้อมถึงได้ ในที่สุดลิงเกิดความคิดที่จะเอาไม้ไปสอยกล้วยที่แขวนเอามากินได้ สรุปได้ว่า ลิงมีการเรียนรู้แบบหยั่งเห็น การหยั่งเห็นเป็นการค้นพบ หรือเกิดความเข้ใจในช่องทางแก้ปัญหาอย่างฉับพลันทันที อันเนื่องมาจากผลการพิจารณาปัญหาโดยส่วนรวมและการใช้กระบวนการทางความคิดและสติปัญญาของบุคคลนั้นในการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับปัญหาหรือ สถานการณ์ที่เผชิญ ดังนั้นปัจจัยสำคัญของการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นก็คือ ประสบการณ์ หากมีประสบการณ์สะสมไว้มาก การเรียนรู้แบบหยั่งเห็นก็จะสะสมไว้มาก การเรียนรู้แบบหยั่งเห็นก็จะเกิดขึ้นได้มากเช่นกัน
ข. หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.กระบวนการคิดเป็นกระบวนการสำคัญในการเรียนรู้ การส่งเสริมกระบวนการคิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
2.การสอนโดยการเสนอภาพรวมเพื่อให้ผู้เรียนเห็นและเข้าใจก่อนการเสนอส่วนย่อยจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
3.การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มาก ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถคิดแก้ปัญหาและคิดริเริ่มได้มากขึ้น
4.การจัดประสบการณ์ใหม่ ให้มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม ของผู้เรียนจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีและง่ายขึ้น
5. การจัดระเบียบสิ่งเร้าที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี คือการจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน
6. ในการสอน ครูไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเสนอเนื้อหาทั้งหมดที่สมบูรณ์ ครูสามารถเสนอเนื้อหาแต่เพยงบางส่วนได้ หากผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมมาเติมให้สมบูรณ์
7. การเสนอบทเรียนหรือเน้อหาควรจัดให้มีความต่อเนื่องกัน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและรวดเร็ว
8. การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้มากขึ้น
1.1.2 ทฤษฎีสนาม (Field Theory)
เคิร์ท เลวิน (Kurt Lewin)เป็นผู้เริ่มทฤษฎีนี้ คำว่า “field”มาจากแนวคิดเรื่อง “field of force”
ก. ทฤษฎีการเรียนรู้
1.พฤติกรรมของคนมีพลังและทิศทาง สิ่งใดที่อยู่ในความสนใจและความต้องการของตนจะมีพลังเป็นบวก สิ่งที่นอกเหนือจากความสนใจจะมีพลังเป็นลบ ในขณะใดขณะหนึ่งคนทุกคนจะมี “โลก”หรือ “อวกาศชีวิต” (life space)ของตน ซึ่งจะประกอบไปด้วยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ(psysical environment) อันได้แก่ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ สิ่งแวดล้อม อื่น ๆและสิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา(psychological environment)ซึ่งได้แก่แรงขับ(drive) แรงจูงใจ (motivation) เป้าหมายหรือจุดหมายปลายทาง(goal) รวมทั้งวามสนใจ(interest)
2.การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ
ข. หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.การช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ จำเป็นต้องอาศัยการทำความเข้าใจ .”โลก” ของผู้เรียนว่า ผู้เรียนมีจุดมุ่งหมายและความต้องการอะไร อะไรเป็นพลัง+และอะไรเป็นพลัง-ของเขา และพยายามจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่จะช่วยให้ผู้เรียนไปสู่จุดหมาย
2.การจัดการเรียนรู้ให้เข้าไปอยู่ใน”โลก”ของผู้เรียน โดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอน
3.การสร้างแรงจูงใจ และ/หรือแรงขับที่จะนำให้ผู้เรียนไปสู่ทิศทางหรือจุดหมายที่ต้องการ เป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
1.1.3 ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)
ทอลแมน(Tolman)กล่าวว่า “การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง” ทฤษฎีของทอลแมนสรุปได้ดังนี้
ก. ทฤษฎีการเรียนรู้
1.ในการเรียนรู้ต่างๆผู้เรียนมีการคาดหมายรางวัล(reward expectancy)หากรางวัลที่คาดว่าจะได้รับไม่ตรงตามความพอใจและความต้องการ ผู้เรียนจะพยายามแสวงหารางวัลหรือสิ่งที่ต้องการต่อไป
2.ขณะที่ผู้เรียนพยายามจะไปให้ถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการ ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ สถานที่(place learning)และสิ่งอื่นๆที่เป็นเครื่องชี้ทางตามไปด้วย
3.ผู้เรียนมีความสามารถที่จะปรับการเรียนรู้ของตนไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป จะไม่กระทำซ้ำๆ ในทางที่ไมสามารถสนองความต้องการหรือวัตถุประสงค์ของตน
4.การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในบุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้น บางครั้งจะไม่แสดงออกในทันที อาจจะแฝงอยู่ในตัวผู้เรียนไปก่อนจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสมหรือจำเป็นจึงจะแสดงออก (Talent learning)
ข.หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.การสร้างแรงขับ และ/หรือแรงจูงใจให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนจะกระตุ้นให้ผู้เรียนพยายามไปให้ถึงจุดหมายที่ต้องการ
2.ในการสอนให้ผู้เรียนบรรลุถึงจุดมุ่งหมายใดๆนั้น ครูควรให้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย
3.การเปลี่ยนสถานการณ์การเรียนรู้ สามารถช่วยให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรรมของตนได้
4.การเรียนรู้บางอย่างยังยังไม่สามารถแสดงออกได้ในทันที การใช้วิธีการทดสอบหลายๆวิธี ทดสอบบ่อยๆ หรือติดตามผลระยะยาว จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในลักษณะนี้
1.1.4 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development)
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งให้เด็กข้ามจากพัฒนากรขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งเพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น
ก.ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสารารุปดังนี้ (Lall and Lall, 1983:45-54)
1.พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้นดังนี้
1.1 ขั้นรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส (Sensorimotor Period) เป็นขั้นพัฒนาการในช่วง 0-2 ปี ความคิดของเด็กในวัยนี้ขึ้นกับการรับรู้และการกระทำเด็กยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง และยังไม่สามารถเข้าใจความคิดเห็นของผู้อื่น
1.2 ขั้นก่อนปฎิบัติการคิด (Preoperational Period) เป็นขั้นพัฒนาการในช่วงอายุ 2-7 ปี ความคิดของเด็กวัยนี้ยังขึ้นอยู่กับการับรู้เป็นส่วนใหญ่ยังไม่สามารถที่จะใช้เหตุผลอย่างลึกซึ้ง แต่สามารถเรียนรู้และใช้สัญลักษณ์ได้ การใช้ภาษาแบ่งเป็นขั้นย่อยๆ 2 ขั้นคือ
1.2.1 ขั้นก่อนเกิดความคิดรวบยอด (Pre-Concep-utal Intellectual Period) เป็นขั้นพัฒนากรในช่วง 2-4 ปี
1.2.2 ขั้นการคิดด้วยความเข้าใจของตนเอง(Intuitive Thinking Period) เป็นพัฒนากรในช่วง 4-7 ปี
1.3 ขั้นการคิดแบบรูปธรรม (Comcrete Operational Pe-riod) เป็นขั้นพัฒนากรในช่วงอายุ 7-11 ปี เป็นขั้นที่การคิดของเด็กไม่ขึ้นกับการรับรู้จากรูปร่างเท่านั้น เด็กสามารถสร้างภาพในใจ และสามารถคิดย้อนกลับได้ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวเลขและสิ่งต่างๆได้มากขึ้น
1.4 ขั้นการคิดแบบนามธรรม (Formal Operation Pe-riod) เป็นพัฒนาการในช่วงอายุ 11-15 ปี เด็กสามารถคิดสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ และสามารถคิดตั้งสมมติฐานและใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้
2. ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่
3. กระบวนการทางสติปํญญามีลักษณะดังนี้
3.1 การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่างๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
3.2 การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
3.3 การเกิดความสมดุล (equilibration)เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับตัว หารการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลมากขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์ เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล
ข.หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.ในการพัฒนาเด็ก ควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปํญญาของเด็กและจัดประสบการณ์ให้เด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการเท่านั้น ไม่ควรบังคับให้เด็กเรียนในสิ่งที่ยังไม่พร้อม หรือยากเกินพัฒนาการตามวัยของตน เพราะจะก่อให้เกิดเจตคติที่ไม่ดีได้
1.1 การจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามวัยของตนสามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปสู่พัฒนาการขั้นสูงได้
1.2 เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการแตกต่างกัน ถึงแม้อายุจะเท่ากัน แต่ระดับพัฒนาการอาจไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา
1.3 ในการสอนควรใช้สิ่งที่เป็นรูปธรรม เพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจลักษณะต่างๆได้ดีขึ้น แม้ในพัฒนาการช่วงการคิดแบบรูปธรรมเด็กจะสามารถสร้างภาพในใจได้แต่การสอนที่ใช้อุปกรณ์ที่เป็นรูปธรรมจะช่วยให้เด็กเข้าใจแจ่มชัดขึ้น
2. การให้ความสนใจและสังเกตเด็กอย่างใกล้ชิด จะช่วยให้ทราบลักษณะเฉพาะตัวของเด็ก
3.ในการสอนเด็กเล็กๆ เด็กจะรับรู้ส่วนรวม (whole) ได้ดีกว่าส่วนย่อย (part) ดังนั้นครูจึงควรสอนภาพรวมก่อนแล้วจึงแยกสอนทีละส่วน
4.ในการสอนสิ่งใดให้กับเด็ก ควรเริ่มจากสิ่งที่เด็กคุ้นเคยหรือมีประสบการณ์มาก่อนแล้วจึงเสนอสิ่งใหม่ที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งเก่า การทำเช่นนี้จะช่วยให้กระบวนการซึมซับและจัดระบบความรู้ของเด็กเป็นไปด้วยดี
5. การเปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ ช่วยให้เด็กดูดซึมข้อมูลเข้าสู่โครงสร้างทางสติปัญญาของเด็กอันเป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
บรุนเนอร์(Bruner)เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง(discovery learning)แนวคิดที่สำคัญๆของบรุนเนอร์มีดังนี้(Brunner,1963:1-54)
ก. ทฤษฎีการเรียนรู้
1. การจัดโครงสร้างของความรูให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
2. การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
3.การคิดแบบหยั่งรู้(intuition)เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
4.แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบวามสำเร็จในการเรียนรู้
5.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3ขั้นใหญ่ๆคือ
5.1 ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ(Enactive Stage) คือขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ปะสารทสัมผัสรับรู้สิ่งต่างๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
5.2 ขั้นการเรียนรู้จากความคิด(Iconic Stage)เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
5.3 ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage)เป็นขั้นการเยนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
6. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่างๆได้อย่างเหมาะสม
7. การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุดคือการให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง(discovery learning)
ข. หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน
2.การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
3.การจัดหลักสูตรแบบเกลียว(Spiral Curriculum)ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการขงผู้เรียน
4.ในการเรียนการสอนต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระ ให้มากเพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้เรียน
5. การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน
6.การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
7.การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งที่จำเป็น
8.การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
1.1.5 ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learning) ของเดวิด ออซูเบล(David Ausubel)
ออซูเบลเชื่อว่าการเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน(Ausubel,1963:77-97)การนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์หรือกรอบความคิด(Advance Organizer)ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆจะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย
ทฤษฎีกลุ่มพุทธินิยม หรือ ทฤษฎีทางปัญญาหรือทฤษฎีความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Theory)ทฤษฎีนี้เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย ความสัมพันธ์ของข้อมูลและดึงข้อมูลมาใช้ ทฤษฎีในกลุ่มนี้ที่สำคัญมี 5 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีเกสตัลท์ (Gestalt Theory) ทฤษฎีสนาม (Field Theory) ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory) ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (Theory of Meaningful Verbal Learning) สาระของแต่ละทฤษฎีและหลักการสอน ดังสรุปในตารางที่ 1 (ทิศนา แขมมณี, 2545: 59-68) อ้างถึงใน ฆนัท ธาตุทอง 2551:19-24
ตารางที่ 1 สาระสาคัญของทฤษฎีการเรียนรู้ของนักจิตวิทยากลุ่มพุทธินิยม
ทฤษฎีการเรียนรู้
นักจิตวิทยา แนวคิด หลักการ
การสอน
1) เกสตัลท์ (Gestalt)
1) แมกซ์ เวอร์ ไทม์เมอร์ (Max Wertheimer) 2) วุล์ฟแกงค์ โคห์เลอร์ (Wolfgang Kohler)
3) เคิร์ท คอฟฟ์กา (Kurt Koffka) 4) เคิร์ท เลวิน (Kurt Lewin) 1) การเรียนรู้เป็นกระบวน การทางความคิด 2) ให้เรียนรู้จากสิ่งเร้าในภาพรวมดีกว่าส่วนย่อย
3) การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ (perception) กับการหยั่งเห็น (insight) 4) ประสบการณ์เดิมมีอิทธิพลต่อการรับรู้ของบุคคล
5) การหยั่งเห็นจะเกิดขึ้นได้ หากมีประสบการณ์สะสมไว้มาก
1) ส่งเสริมกระบวนการคิดจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ 2) ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดี เมื่อสอนภาพรวม ก่อนลงย่อย ๆ จัดระเบียบกลุ่มสิ่งเร้าที่เหมือนกัน
3) ผู้เรียนจะเกิดการหยั่งเห็นได้ถ้ามีประสบการณ์มาก ๆ หลากหลายและให้ประสบการณ์ที่สัมพันธ์กัน จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีง่ายขึ้น และเกิดความ สามารถแก้ปัญหามีความคิดริเริ่ม
ทฤษฎีการเรียนรู้
นักจิตวิทยา แนวคิด หลักการ
การสอน
4) การสอนควรนาเสนอเนื้อหาบางส่วนให้ผู้เรียนใช้ประสบการณ์เดิมเสริมต่อ แต่ควรเสนอเนื้อหาที่ต่อเนื่องจะเข้าใจเร็ว
2) สนาม (Field)
1) เคิร์ท เลวิน (Kurt Lewin) พัฒนามาจากทฤษฎีเกสตัลท์ 1) สิ่งที่อยู่ในความสนใจความต้องการจะมีพลังเป็นบวก 2) คนมีองค์ประกอบเป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพหรือวัตถุและสิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา คือ แรงขับ และแรงจูงใจต่อเป้าหมาย 3) การเรียนรู้เกิดจากแรงจูงใจไปสู่จุดหมายที่ต้องการ
1) ผู้เรียนต้องการจุดมุ่งหมายและ ความต้องการ จึงต้องจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ 2) การสร้างแรงจูงใจหรือแรงขับ เป็นสิ่งสาคัญของการเกิดการ เรียนรู้
3) เครื่องหมาย (Sign)
1) ทอลแมน (Tolman)
1) การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทางที่ต้องการ 2) ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้เมื่อได้รับรางวัลที่ต้องการ 3) ผู้เรียนจะเก็บความรู้ในรูปแบบเครื่องหมาย 1) การสร้างแรงขับ แรงจูงใจจะกระตุ้นผู้เรียนให้พยายามไปสู่จุดหมายที่ต้องการ 2) การสอนควรใช้เครื่องหมาย สัญลักษณ์เป็นเครื่องชี้ทางกากับ 3) การปรับสถานการณ์จะช่วยปรับ พฤติกรรม
ทฤษฎีการเรียนรู้
นักจิตวิทยา แนวคิด หลักการ
การสอน
สัญลักษณ์ สถานที่ และปรับการเรียนรู้ ตามสถานการณ์ 4) การเรียนรู้คงเก็บไว้จะไม่แสดงออกจนกว่าจะเหมาะสม 4) การเรียนรู้บางอย่างอาจไม่แสดงออกทันที จึงควรใช้วิธีประเมินผลหลายวิธี ระยะยาว
4) พัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development)
1) เพียเจต์ (Piaget)
1) ควรเข้าใจพัฒนาการของเด็ก เป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติตามวัย ไม่เร่งหรือข้ามขั้น แต่อาจจัด ประสบการณ์เสริมช่วยให้พัฒนาได้เร็วขึ้น 2) ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่
3) กระบวนการทางสติ ปัญญา เป็นการดูดซับไว้ปรับและจัดระบบให้เกิดโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น ซึ่งต้องสมดุลไม่ขัดแย้ง 1) จัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยไม่ใช่การบังคับ เมื่อเด็กไม่พร้อมให้อิสระเด็ก มิฉะนั้นอาจเกิดเจตคติทางลบ 2) ให้ความสนใจและสังเกต เด็กจะรู้ลักษณะเฉพาะของเด็ก
3) การสอนภาพรวมก่อนภาพย่อยจะเข้าใจดีกว่า 4) สอนสิ่งที่คุ้นเคยก่อนเสนอสิ่งใหม่ที่สัมพันธ์กับสิ่งเดิมจะจัดระบบ
ความรู้ได้ดี 5) เปิดโอกาสรับประสบการณ์และปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ
เด็กจะดูดซับและส่งเสริมโครงสร้าง ทางปัญญา
ทฤษฎีการเรียนรู้
นักจิตวิทยา แนวคิด หลักการ
การสอน
2) บรุนเนอร์ (Brunner)
1) มนุษย์เลือกรับรู้สิ่งที่ตนสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตนเอง (Discovery Learning) 2) การคิดอย่างหยั่งรู้เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระ ช่วยให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ประสบผลสาเร็จ การเรียนรู้มี 3 ขั้น คือ ขั้นความรู้จากการกระทำ ใช้ประสาทสัมผัสรับรู้ ลงมือกระทา เกิดความรู้ขั้นความคิด การสร้างมโนภาพได้ และเรียนรู้จากภาพแทนของจริง ขั้นสัญลักษณ์และนามธรรม
3) สร้างความคิดรวบยอด หรือจัดประสบการณ์อย่างเหมาะสม
4) การเรียนรู้ที่ ได้ผลดี ต้องให้ ผู้เรียนค้นพบด้วยตนเอง 1) กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดี มีความหมายแก่ผู้เรียน 2) วิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหา สาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมก่อนการสอน 3) จัดหลักสูตรแบบเกลียว ช่วยสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดได้ทุกวัย โดยจัดให้เหมาะสมกับวัย จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี 4) ส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดอย่างอิสระ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
5) การสอนความคิดรวบยอดแก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจาเป็นและการสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดกับผู้เรียนเป็นสิ่งจาเป็นในการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
ทฤษฎีการเรียนรู้
นักจิตวิทยา แนวคิด หลักการ
การสอน
5) การเรียนรู้อย่างมีความหมาย (Theory ofMeaningful Verbal Learning) 1) ออซูเบล (Ausubel )
1) การเรียนรู้จะมีความหมาย หากเชื่อมโยงกับความรู้เดิม
1) การเสนอความคิดรวบยอด หรือกรอบมโนทัศน์ก่อนการสอน เนื้อหาจะช่วยให้เนื้อหาสาระมีความหมาย
กล่าวโดยสรุป ทฤษฎีปัญญาเป็นกระบวนการทางสติปัญญาในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับตนเองด้วยการสร้างเสริมประสบการณ์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ ทาให้เกิดการเรียนรู้ได้ 2 ลักษณะ คือ การหยั่งรู้ (insight) และการรับรู้(perception) ได้ดีขึ้น ผู้เรียนจะเข้าใจและมองเห็นแนวทางการแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น ส่วนทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) เน้นว่าการเรียนรู้เกิดจากการที่มนุษย์มีส่วนร่วม หรือการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว และมีพฤติกรรม แตกต่างกันตามลักษณะนิสัยส่วนตัว และแรงกระตุ้นที่เป็นปัจจัยของความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นทฤษฎีที่ให้ความสาคัญกับบริบททางสังคม (social context) และการมีปฏิสัมพันธ์ ลักษณะการเรียนรู้เป็นการเรียนรู้บทบาทและมีพฤติกรรมตามต้นแบบในสังคม คาว่า “บริบททางสังคม” ตามทฤษฎีเกี่ยวกับบริบททางสังคม (Theory of Social Context) ได้ให้ความหมายว่า เป็นสภาพเงื่อนไขที่กาหนดแบบแผนความสัมพันธ์ของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ได้แก่ บทบาทความรับผิดชอบ และความคาดหวังของผู้เรียนและผู้สอน ซึ่งมีลักษณะสาคัญ 5 ประการ คือ 1) ความเคารพซึ่งกันและกัน 2) ความรับผิดชอบร่วมกันและความมุ่งหวังที่มีต่อเป้าหมายร่วมกัน3) การสื่อสารและรวบข้อมูลย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพ 4) ความร่วมมือและความเต็มใจที่จะจัดการกับปัญหาความขัดแย้งด้วยวิธีที่เหมาะสม 5) ความรู้สึกปลอดภัยไว้วางใจในห้องเรียน ดังนั้น การสร้างบรรยากาศที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้จึงเป็นบทบาทที่สาคัญทั้งผู้เรียนและผู้สอนร่วมกัน นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกันและการเรียนแบบมีส่วนร่วม เป็นกระบวนการที่สาคัญต่อการเรียนรู้ทางสังคม แบนดูรา (Bandura, 1967 : 112) เชื่อว่าทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม เป็นกระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่รวมถึงการศึกษาด้วย จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมที่แสดงความเป็นอิสระจากแรงจูงใจภายนอกที่สร้างขึ้น ได้แก่ รางวัลและการลงโทษที่กาหนดขึ้นให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ให้มากากับควบคุมพฤติกรรมของเรา (self – regulation) จึงต้องมีการตั้งมาตรฐานที่เป็นจริงและเหมาะสม และตั้งเป้าหมายย่อย ๆ เพื่อไปสู่เป้าหมายปลายทาง ทฤษฎีนี้จึงเน้นการรู้จักตนเอง และการแสวงหากลยุทธ์ที่จะกำกับควบคุมตนเอง เพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และเราต้องสร้างความมั่นใจในตนเอง และสร้างแรงจูงใจในการเรียนและพัฒนากลยุทธ์ในการเรียนจากการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
เนื่องจากทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มทฤษฎีปัญญาและกลุ่มทฤษฎีทางสังคมได้เกิดการผสมผสานความคิดของทั้งสองทฤษฎีมาเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม (Social Cognative Theory) ซึ่งทฤษฎีนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ด้วยตนเองนอกจากจะเป็นผลจากการเรียนรู้ทักษะทางปัญญา (cognition skills) ตามทฤษฎี เมตาคอกนิชั่น (metacognition) แล้ว ยังเกิดจากการมีวินัยในตนเอง (self – regulation) เป็นแรงจูงใจ การมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ การสนับสนุนทางสังคมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งมาสโลว์ (Maslow, 1962 : 178-179) ได้ให้แนวคิดเรื่อง การรู้จักตนเอง (self – awareness) และการเข้าใจตนเอง (self – actualization) ว่าเป็นการพาตัวเองออกไปสู่โลกภายนอกด้วยการพยายามทาในสิ่งที่ดีภายในตัวเอง เข้าใจคนอื่น